วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

การเลือกอาหารควบคุมน้ำหนักตามกรุ๊ปเลือด

วิวัฒนาการของกรุ๊ปเลือด
การเกิดกรุ๊ปเลือด ในยุคต้นมนุษย์โบราณทุกคนมีลักษณะของเลือด หรือโปรตีนในเลือดเหมือนกันทุกคน คือ กรุ๊ป o เมื่อมีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ตลอดจนสภาพภูมิอากาศ ลักษณะอาหารเปลี่ยนแปรไปจากแอฟริกาเคลื่อนตัวไปทางเมดิเตอร์เรเนียน ในยุคราว 15,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และเริ่มอยู่รวมกันมากขึ้น มีอุบัติการณ์การเกิดโรคระบาดเช่น อหิวาตกโรค โรคฝีดาษ ตลอดจนกาฬโรค ซึ่งเกิดจากสภาวะสุขอนามัยที่ไม่ดี มีการติดเชื้อมากขึ้น ส่งผมให้ร่างกายของมนุษย์ยุคนั้นเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา จึงเกิดบุคคลกลุ่มที่มีเลือดกรุ๊ป A ต่อมาจึงมีการอพยพย้ายถิ่นฐานแบ่งออกเป็นสองสาย พวกหนึ่งไปทางยุโรป อีกพวกหนึ่งมาทางเอเชียและตั้งถิ่นฐานในแถบมองโกเลีย โดยทางมองโกเลียมนุษย์เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ลักษณะอาหารจึงเริ่มเปลี่ยนไป ทำให้ชนกลุ่มมองเลีย มีกรุ๊ปเลือดชนิดใหม่เป็นกรุ๊ป B ส่วนกรุ๊ปสุดท้ายที่เกิดหลังสุดเมื่อราว 500 ปีก่อนคริสต์ศักราชนี้เอง คือ กรุ๊ป AB

ในบุคคลที่มีเลือดกรุ๊ปเดียวกันนั้นจะมีรหัสข้อมูลทางพันธุกรรมของบรรพบุรุษที่ใกล้เคียงกันแฝงมาด้วย ซึ่งเราสามรถจำแนกลักษณะเด่นของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

เลือดกรุ๊ป O

เป็นกลุ่มที่เกิดก่อน หรือเรียกว่ายุคต้น ลักษณะเด่นคือ ระบบย่อยอาหารจะย่อยพวกเนื้อสัตว์ได้ดี แต่ย่อยพวกธัญพืชโดยเฉพาะข้าวสาลี ไข่ และนมได้ไม่ดี



เลือดกรุ๊ป A

เป็นกลุ่มที่ย้ายถิ่นฐานมาทางเมดิเตอร์เรเนียน วิวัฒนาการช่วงดังกล่าวมีการบริโภคพืชเป็นหลัก ระบบย่อยอาหารไม่เหมาะต่อการบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งไข่และนมก็ย่อยได้ไม่ดีเช่นกัน

เลือดกรุ๊ป B

เป็นกลุ่มที่มีลักษณะเด่นในเรื่องระบบย่อยอาหารแบบสมดุล สามารถย่อยได้ดีทั้งผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ไข่ นม และผัก ควรบริโภคกึ่งกลางได้ทั้งผักและเนื้อสัตว์แต่ส่วนมากจะมีปฏิกิริยาปฏิเสธต่อเนื้อสัตว์ค่อนข้างรุนแรง

เลือดกรุ๊ป AB

เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาหลังสุดมีคุณสมบัติแฝงมาทั้งของกรุ๊ป A และกรุ๊ป B แต่มีแนวโน้มใกล้กับกรุ๊ป A มากกว่าคือ ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์ปริมาณมากๆ แต่ยังย่อยผลิตภัณฑ์นมได้ดี มีปฏิกิริยาปฏิเสธต่อเนื้อสัตว์

จะเห็นได้ว่ากลไกการวิวัฒนาการของอาหารสัมพันธ์ต่อการปรับตัวขอ ระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกันควบคุมกันต่อไป ดังนั้นองค์ประกอบขององค์มูลความรู้พื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับสารอาหารกับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกายที่แตกต่างกัน ภายหลังจากร่างกายได้รับสารอาหารนั้นๆ จะเป็นตัวกำหนดว่าอาหารใดเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจจะเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านแก่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนที่ขาดหายไปของข้อมูลความรู้คือ เล็คติน (Lactin) ที่เป็นสารประกอบที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ หรืออินทรีย์วัตถุใดๆ จะมีเล็คตินเฉพาะสารนั้นๆ ซึ่งมีความเหนียวและทำหน้าที่เหมือนกาว เมื่อมีสารเล็คตินจากอาหารที่ทำปฏิกิริยากับเล็คตินของบุคคลนั้น ๆ และเกาะจับกันอย่างแน่นก็จะส่งผลรบกวนต่อขบวนการย่อย การนำไปใช้ ตลอดจนขบวนการขับไปทิ้งของร่างกาย และจะทำให้เกิดปฏิกิริยาในการต่อต้านหรือการปฏิเสธของร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดกระบวนการเกาะติดสะสม (Agglutination) ในร่างกายและในระบบหลอดเลือดได้ซึ่งล้วนแต่จะทำให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาวและยังจะส่งผลไปถึงความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัว

สารประกอบเล็คติน (Lectin)

ก่อนที่เราจะเข้าถึงความจำเป็นว่าในชีวิตประจำวันของเราควรจะบริโภคอะไรหรือควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของทุก ๆ คน เรามาทำความรู้จักเจ้าสารที่ชื่อว่าเล็คตินนี้ให้ดีกันสักหน่อย เพราะจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกเมื่อเชื่อวันและอาจจะเป็นกุญแจสำคัญของชีวิตที่จะนำทางไปสู่ประตูแห่งความสำเร็จในหลายๆเรื่อง เริ่มตั้งแต่กินอาหารน้อยๆ แต่อิ่มได้นานมีเรี่ยวแรงมากขึ้น ท้องไม่อืดเพราะสร้างแก๊สน้อยลง ไม่เรอเหม็นเปรี้ยว ไม่มีกลิ่นปาก-กลิ่นตัว สมองปลอดโปร่งแจ่มใส ไม่ง่วงเหงาหาวนอน การทำงานของอวัยวะต่างๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมีภูมิต้านทานโรคที่ดีขึ้น แข็งแรงทนทานไม่ป่วยง่ายและที่สำคัญคือ การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมสามารถทำได้ง่ายขึ้น

การทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกันระหว่างเล็คตินในร่างกายกับเล็คตินในสารอาหารที่ทานเข้าไป เป็นขบวนการที่น่าอัศจรรย์ที่ถ่ายทอดกันมาทางพันธุกรรมเกิดขึ้นมาเป็นหลายหมื่นปีแล้วจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ปฏิกิริยาที่เคยเกิดขึ้นกับบรรพบุรุษเป็นอย่างไรในยุคปัจจุบันนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นกับลูกหลานเช่นกัน เมื่อกล่าวถึงเล็คตินให้นึกถึงกาวที่มีความเหนียวชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติเมื่อเจอกับเล็คตินจำพวกใดอีกจำพวกหนึ่งแล้วอาจจะก่อให้ปฏิกิริยาจับซึ่งกันและกัน แล้วตกตะกอนไปเกาะติดตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ลิ้น ผิวกระเพาะ ผิวลำไส้ ตับเลือด ไต เนื้อเยื่อสมองและเม็ดเลือดแดง ยกตัวอย่างคนมีเลือดกรุ๊ป A กินถั่วปากอ้า (Lima Bean) ซึ่งมีโปรตีนมีองค์ประกอบคล้ายกับที่มีในเลือดของคนกรุ๊ป B คนที่มีเลือดกรุ๊ป A จะแสดงอาหารต่อต้าน มีการตกตะกอนของเลือด แล้วไปเกาะติดกับอวัยวะต่างๆ และตะกอนนั้นๆ ยังมีคุณสมบัติเหมือนแม่เหล็ก (Magnetic Effect) มีผลต่อเซลในบริเวณดังกล่าวให้เกาะติดซึ่งกันและกัน แล้วเสื่อมสภาพลงแปรสภาพเป็นเสมือนสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายกลายเป็นเป้าหมายให้ระบบภูมิคุ้มกันเราต้องทำงานในการกำจัดทิ้ง

ในปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการทดลองสกัดเอาสารเล็คตินในสารอาหารแต่ละชนิด มาหาความสัมพันธ์กับคน ในกลุ่มเลือดกรุ๊ปเลือดต่างๆ รวบรวมไว้ แล้วให้คำแนะนำถึงแนวโน้มในที่จะก่อให้เกิดสภาวะการเกิดตกตะกอนและเกาะติดในอาหารแต่ละชนิด ทำให้การแนะนำโภชนาการเป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้นหรือแม้กระทั่งสามารถตรวจดูปฏิกิริยาเป็นรายบุคคลเพื่อให้เกิดความละเอียดมากขึ้น เพราะแต่ละบุคคลในกลุ่มเลือดเดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียด ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันได้เช่น นาย ก. ชอบกินกล้วยเป็นประจำ เป็นระยะเวลานานๆ ถึงแม้เลือดจะไม่ไวต่อการเกาะติดกับเล็คตินของกล้วยไว้มากเกินไป ก็จะสามารถส่งผลก่อให้เกิดปฏิกิริยาการตกตะกอน และเกาะติดสะสมได้ ดังนั้นหลักการโดยทั่วไปคือ เลือกรับประทานอาหารในกลุ่มที่ถูกกับชนิดที่ชอบซ้ำซากจำเจ และที่สำคัญที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาตกตะกอน และเกาะติดของอาหารชนิดนั้นตามที่รหัสพันธุกรรมของเราถูกกำหนดมาแล้วตามบรรพบุรุษเพื่อสุขภาพที่ดี และการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนั้นเอง

การเลือกอาหารตามกรุ๊ปเลือด

เป็นการเลือกสารอาหารตามงานวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะผลงานของ ดร.ปีเตอร์ เจ.ดี.อดาโม ผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้เขียนหนังสือ “Eat Right For Your Type” ผู้เขียนได้จับประเด็นมาเฉพาะบางส่วนที่เหมาะสมกับคนไทย โดยเลือกรายการอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในท้องตลาดของเราเท่านั้นโดยจะแบ่งอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม

1. กลุ่มที่ให้ประโยชน์สูงสุด

2. กลุ่มที่รับประทานได้โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน

3. กลุ่มที่ควรจะหลีกเลี่ยง

นอกจากนั้นยังได้ระบุถึงกลุ่มอาหารที่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว และลดน้ำหนักตัวในแต่ละกรุ๊ปเลือดด้วย

การเลือกชนิดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักในเลือดกรุ๊ป O

จากที่กล่าวมาในบทต้นๆ ว่าบรรพบุรุษของกรุ๊ป O เป็นนักล่า กินอาหารโปรตีนสูง ไขมันสูง แต่กินแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตน้อย ระบบย่อยอาหารจึงทำหน้าที่ย่อยเนื้อสัตว์ได้ดี แต่ย่อยผลิตภัณฑ์จากนมได้ไม่ดี ปัญหาใหญ่สำหรับกลุ่มนี้คือ สารโปรตีนที่มีอยู่ในแป้งข้าวสาลี (Wheat Gluten) จะมีผลต่อขบวนการเมตะโบลิซึ่มของสารอิซูลิน ส่งผลทำให้ขบวนการเผาผลาญสารอาหารอื่นๆ ขาดประสิทธิภาพลงและก่อให้เกิดการสะสมไขมันสูง ทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมาก

อาหารที่ส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว

· โปรตีนจากข้าวสาลี ขนมปังและผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลีทุกชนิด

· ดอกกะหล่ำ

· ข้าวโพด

· ผักกาดขาว

· ผักกาดเขียว

อาหารที่มีผลต่อการลดน้ำหนักตัว

· คะน้า

· บล๊อคโคลี่

· อาหารทะเล

· ผักโขม

· เนื้อแดง

นอกจากนั้นแนะนำให้มีการออกกำลังกายหลักเป็นประจำ จะมีผลทำให้การควบคุมน้ำหนักตัวได้ดียิ่งขึ้น

การเลือกชนิดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักในเลือดกรุ๊ป A

บรรพบุรุษของเลือดกรุ๊ป A เป็นกลุ่มที่เริ่มมีการกสิกรรมควรเลือกอาหารสดและโดยเฉพาะผักปลอดสารที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ระบบย่อยผลิตภัณฑ์จากสัตว์ได้ไม่ดี เป็นคู่ตรงกันข้ามอย่างชัดเจนกับกลุ่มกรุ๊ป O แหล่งโปรตีนหลักควรได้จากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง หรือกล่าวได้ว่า การรับประทานมังสะวิรัตเป็นผลดีต่อผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A และควรหลีกเลี่ยงไข่และนม

อาหารที่ส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว

· เนื้อสัตว์

· แป้งสาลี

· นม

อาหารที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักตัว

· น้ำมันพืช

· ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง

· เต้าหู้

· สับประรด

การเลือกชนิดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักในเลือดกรุ๊ป B

นับเป็นกลุ่มชนที่มีโอกาสที่เลือกสารอาหารได้หลากหลายมากที่สุดใน 4 กรุ๊ปเลือดเพราะได้ปรับสมดุลปัจจัยทางอาหารได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันมีความอ่อนไหวสูง โอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันเช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) และมัลติเปิดสเคอโรซีส ได้สูง

อาหารที่ส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว

· แป้งสาลีและผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี เช่น ขนมปัง คุกกี้

· ข้าวโพด

· ถั่วลิสง

· งา

อาหารที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักตัว

· ผักใบเขียวเกือบทุกชนิด

· เนื้อ

· ไข่

ข้อกำหนดสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้ที่น่าจะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ในกล้ามเนื้อของไก่จะมีสารเล็คตินที่จะทำให้เกิดการตกตะกอน (Agglutination) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทั้งระบบหลอดเลือดและขบวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงหรือ เลิกรับประทานเนื้อไก่ โดยอาจจะเปลี่ยนเป็นไก่งวงเพราะจะไม่มีสารเล็คตินดังกล่าว

การเลือกชนิดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักในเลือกกรุ๊ป AB

จะเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติรวมๆกัน ระหว่างเลือดกรุ๊ป A และกรุ๊ป B จุดอ่อนของคนกลุ่มนี้อยู่ที่กระเพาะอาหารผลิตกรดได้น้อย ถึงแม้บริโภคเนื้อสัตว์ได้แต่ควรบริโภคแต่น้อยเท่านั้น

อาหารที่ส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว

· เนื้อแดง หมู วัว

· เมล็ดธัญพืช

· ถั่วปากอ้า

· ข้าวโพด

· แป้งสาลี

อาหารที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักตัว

· โปรตีนจากถั่วเหลือง (เต้าหู้)

· อาหารทะเล

· ผลิตภัณฑ์จากนม

· คะน้า

· สับปะรด

ข้อควรระวังที่สำคัญ จะเหมือนคนกลุ่ม B หรือควรหลีกเลี่ยง หรือเลิกบริโภคเนื้อสัตว์เพราะมีเล็คตินก่อให้เกิดสภาวะการตกตะกอน (Agglutination) ได้ แต่ขณะเดียวกันไข่ไก่กลับเป็นอาหารชั้นดีสำหรับคนกลุ่มนี้

ยังมีข้อมูลสำคัญกล่าวถึงเล็คตินต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวโยงไปถึงสภาวะการเกิดโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคระบบประสาท โรคระบบทางเดินอาหาร โรคตับ โรคไต โรคมะเร็ง ซึ่งภายหลังจากผู้ที่ประสบปัญหาได้มีการเรียนรู้หลักการบริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะการที่เล็คตินตกตะกอน (Agglutination) แล้วปฏิบัติตามสภาวะการของโรคต่างๆ จะมีการฟื้นตัวดีขึ้น มีผลต่อสุขภาพให้ดีอยู่ได้อย่างยืนยาว ตลอดจนสามารถใช้ศักยภาพของร่างกายได้เต็มประสิทธิภาพที่ธรรมชาติได้จัดเตรียมเลือกสรรให้ตามลักษณะทางพันธุกรรมได้เป็นอย่างดี ขอกล่าวว่าธรรมชาติได้จัดเตรียมเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด พิเศษที่สุดสำหรับมนุษย์แต่ละคนมาให้แล้ว เพียงแต่เราจะมีความรู้ทันสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบมาให้อย่างถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่าเท่านั้นเอง

การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพในเลือดกรุ๊ป O

อาหารที่ให้ประโยชน์สูงสุด

เนื้อ เนื้อวัว,เนื้อแพะ,เนื้อแกะ,อาหารทะเลเช่น ปลา

ธัญพืช เมล็ดฟักทอง,ลูกวอลนัท,ลูกพรุน

ผัก ผักคะน้า,ผักโขม,บล๊อคโคลี่,ผักกาดขาว,ฟักทอง,มันฝรั่ง,ผักชี,หัวหอม,กระเทียม,สาหร่าย

อื่นๆ น้ำมันมะกอก,น้ำมันเมล็ดปอ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

นม/เนย หมูรวมไปถึงแฮม เบคอน,ห่าน,ปลาดุก,ปลาหมึกสาย

ธัญพืช แป้งสาลีและผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี,ข้าวโพด,คอร์นเฟรก,ถั่วลิสง,เม็ดมะม่วงหิมพานต์

ผัก ผักกาดเขียว,ดอกกะหล่ำ

ผลไม้ ส้ม,มะพร้าว,แคนตาลูป,อะโวคาโด

อื่นๆ น้ำมันจากถั่วลิสง,น้ำมันจากดอกคำฝอย,น้ำมันจากข้าวโพด

อาหารรับประทานได้โดยไม่มีปฏิกิริยา

เนื้อ ไก่และเป็ด,กุ้ง,หอย,ปู,ปลากะพง ปลาเก๋า ปลาทูน่า

ธัญพืช ข้าวเจ้า,ข้าวบาร์เลย์,ถั่วอัลมอนด์,เมล็ดทานตะวัน,งา,เต้าหู้

ผัก หน่อไม้,แอสพารากัส,มะเขือเทศ,เห็ด,ขิง

ผลไม้ แอบเปิ้ล,องุ่น,ฝรั่ง,มะละกอ,แตงโม,กล้วย,อินทผาลัม

การเลือกชนิดอาหารเพื่อสุขภาพในเลือดกรุ๊ป A

อาหารที่ให้ประโยชน์สูงสุด

นม/เนย นมถั่วเหลือง

ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี,เมล็ดฟักทอง,ถั่วทุกชนิด,ถั่วลิสง,โซบะ,เต้าหู้

ผัก ผักคะน้า,ผักโขม,บล๊อคโคลี่,ผักกาดขาว,แครอท,ฟักทอง,ต้นหอม,กระเทียม

ผลไม้ สับประรด,มะนาว,ลูกพรุน,ลูกเชอร์รี่

อื่นๆ น้ำมันมะกอก

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

เนื้อ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

ธัญพืช เม็ดมะม่วงหิมพานต์,ถั่วฟิตตาโซส,มันฝรั่ง,เผือก

ผัก ผักกาดจีน,มะเขือยาว,มะเขือเทศ

ผลไม้ กล้วย,มะละกอ,มะพร้าว,แคนตาลูป

อื่นๆ น้ำมันจากข้าวโพด,น้ำมันจากดอกคำฝอย,น้ำมันงา,น้ำมันถั่วเหลือง

อาหารที่รับประทานได้โดยไม่มีปฏิกิริยา

เนื้อ ปลาได้บางชนิด อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง

ผัก ดอกกะหล่ำ,หน่อไม้,แอสพารากัส,เห็ด,ผักชี

ผลไม้ ฝรั่ง,องุ่น,แตงไท,แอบเปิ้ล,อโวคาโด,อินทผลัม,ลูกเกด

การเลือกชิดอาหารเพื่อสุขภาพในเลือดกรุ๊ป B

อาหารที่ให้ประโยชน์สูงสุด

นม นม,เนย,ผลิตภัณฑ์จากนม,ไข่

เนื้อ แพะ,แกะ,ไก่งวง,ปลาทะเล,โดยเฉพาะปลาเนื้อขาว

ผัก ผักใบเขียว,เห็ด

ผลไม้ กล้วย,มะละกอ,สับประรด

อื่นๆ น้ำมันมะกอก

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

เนื้อ หมู,ไก่,เป็ด,ห่าน,กุ้ง,หอย,ปู

ธัญพืช แป้งสาลี,ข้าวโพด,ถั่วเหลือง,ถั่วลิสง

ผัก ฟักทอง,มะเขือเทศ

ผลไม้ มะพร้าว

อาหารที่รับประทานได้โดยไม่มีปฏิกิริยา

เนื้อ วัว

ผัก หน่อไม้,แอสพารากัส,ผักโขม,แตงกวา,เห็ด,ผักชี,ขิง,กระเทียม

ผลไม้ ส้ม,มะนาว,ลูกพรุน

การเลือกชนิดอาหารเพื่อสุขภาพในเลือดกรุ๊ป AB

อาหารที่ให้ประโยชน์สูงสุด

ไข่

เนื้อ แพะ,แกะ,ไก่งวง,ปลากะพงแดง

ธัญพืช ข้าวกล้อง,มันฝรั่ง,เต้าหู้

ผัก ผักกาดเขียว,คะน้า,ดอกกะหล่ำ,บล๊อคโคลี่,มะเขือยาว,แตงกวา,แครอท,เห็ด

ผลไม้ มะละกอ,องุ่น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

เนื้อ หมู,วัว,ไก่,เป็ด,ห่าน

ธัญพืช เมล็ดทานตะวัน,เมล็ดฟักทอง,งา,ข้าวโพด

ผลไม้ กล้วย,ส้ม,ฝรั่ง,มะพร้าว,มะม่วง,อโวคาโด

อาหารที่รับประทานได้โดยไม่มีปฏิกิริยา

ผัก แอสพารากัส

ผลไม้ แอบเปิ้ล,สับปะรด,ลูกแพร,ลูกพรุน,ลูกเกด,อินทผาลัม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น